26 กรกฎาคม 2563 นายนพดล พินิจ ปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม ได้เปิดเผยกับประชาสัมพันธ์จังหวัดมหาสารคาม ว่า ในระหว่างวันที่ 15 - 20 กรกฎาคม 2563 พบโรคระบาดสัตว์ ชนิดเฮโมรายิกเซพติซีเมีย ในกระบือ ในพื้นที่ของจังหวัดมหาสารคาม จำนวน 3 จุด ประกอบด้วย จุดที่ 1 บ้านหนองหญ้าปล้อง หมู่ที่ 4 ตำบลบ่อใหญ่ อำเภอบรบือ พบกระบือของเกษตรกร 1 ราย เป็นกระบือป่วย 1 ตัว ตาย 5 ตัว จากจำนวนกระบือในฝูง 7 ตัว จุดที่ 2 บ้านบ่อทอง หมู่ที่ 10 ตำบลเลิงแฝก อำเภอกุดรัง พบกระบือของเกษตรกร 1 ราย เป็นกระบือป่วย 1 ตัว ตาย 19 ตัว จากกระบือในฝูง 30 ตัว จุดที่ 3 บ้านหนองผง หมู่ที่ 8 ตำบลดงยาง อำเภอนาดูน พบสัตว์ของเกษตรกร 1 ราย เป็นโคป่วย 1 ตัว กระบือตาย 1 ตัว จากจำนวนสัตว์ในฝูง โค 9 ตัว กระบือ 6 ตัว ทั้งนี้ ยอดรวม 3 จุด ณ วันที่ 24 กรกฎาคม 2563 พบสัตว์ป่วยรวม 3 ตัว (กระบือ 2 ตัว โค 1 ตัว) รวมกระบือตาย 25 ตัว (โคไม่มีตาย) จากการสอบสวนโรค พบว่าสัตว์กลุ่มดังกล่าว ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนโรคคอบอม ประกอบกับ สภาพอากาศ แปรปรวน ทำให้สัตว์เครียด จึงทำให้สัตว์เกิดโรคได้ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม ดังนี้ 1. ดำเนินการประกาศกำหนดเขตโรคระบาดชั่วคราวในพื้นที่เกิดโรค 2. ดำเนินการฉีดวัคซีน รัศมี 5 กิโลเมตร รอบจุดเกิดโรค 3 จุดเกิดโรค ครอบคลุม 5 อำเภอ 67 หมู่บ้าน 11 ตำบล จำนวนโค 3,986 ตัว กระบือ 1,032 ตัว รวม 5,018 ตัว (คิดเป็น 86%) เกษตรกรรวม 1,353 ราย 3. บูรณาการด่านกักกันสัตว์มหาสารคามตั้งจุดควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์และการทำลายเชื้อโรค 4. ประชุมชี้แจง ขอความร่วมมือผู้ประกอบการค้าสัตว์/ซากสัตว์ ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 5. ประสานศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สนับสนุนเสบียงอาหารสัตว์สำหรับสัตว์ที่ถูกสั่งกัก 6. ประสานขอความร่วมมือเจ้าของตลาดนัดค้าสัตว์ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม ทั้ง 5 แห่ง ได้แก่ตลาดนัดโคกระบือ ในพื้นที่อำเภอเมือง /นาเชือก/วาปีปทุม/บรบือ และโกสุมพิสัย ปิดตลาดตั้งแต่วันที่ 23 ก.ค. – 6 ส.ค. 2563 จากข้อมูลในการป้องกันโรคนี้ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดมหาสารคาม มีเป้าหมายการฉีดวัคซีนโรคเฮโมฯ ในโคกระบือ จำนวน 50,205 ตัว โดยดำเนินการฉีดวัคซีนได้เกินเป้าหมาย 51,289 ตัว คิดเป็น ร้อยละ 102.6 ซึ่งออกให้บริการฉีดวัคซีนโดยมีเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จังหวัด เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอ ตลอดจนอาสาป้องกันโรคสัตว์ประจำตำบล ประจำหมู่บ้าน ออกให้บริการฉีดวัคซีนโรคโดยไม่คิดค่าบริการฉีดวัคซีน โรคเฮโมโรคเฮโมรายิกเซพติซีเมีย หรือที่เรียกตามอาการ ว่า โรคคอบวม เป็นโรคระบาดรุนแรง ของกระบือ แต่โรคนี้จะมีความรุนแรงน้อยลงในสัตว์อื่นๆ เช่น โค แกะ สุกร ม้า อูฐ กวาง และช้าง เป็นต้น โรคนี้ไม่เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน ลักษณะสำคัญของโรค คือ สัตว์จะหายใจหอบลึกมีเสียงดัง คอ หรือหน้าบวมแข็ง อัตราการป่วยและอัตราการตายสูง เชื้อชนิดนี้อยู่ในระบบทางเดินหายใจสัตว์ปกติได้ โดยที่สัตว์ไม่แสดงอาการป่วยแต่เมื่อมีภาวะทำให้สัตว์เครียดสัตว์จะแสดงอาการป่วยและขับเชื้อออกมาสู่สิ่งแวดล้อม สาเหตุและการแพร่ระบาด เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ พาสทูเรลลา มัลโตซิดา (Pasteurella multocida) พบในประเทศต่างๆ ของเอเซีย และ แอฟริกาเป็นส่วนมาก การระบาดของโรคจะเกิดขึ้นได้ง่ายในสภาวะที่สัตว์เกิดความเครียด เช่น ช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะ ต้นฤดู ฝน การเคลื่อนย้ายสัตว์หรือการใช้แรงงานสัตว์มากเกินไป ในสภาวะความเครียดเช่นนี้สัตว์ที่เป็นตัวเก็บเชื้อ (Carrier) จะปล่อยเชื้อออกมาปนเปื้อนกับอาหารและน้ำ เมื่อสัตว์ตัวอื่นกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อนอยู่เข้าไป ก็จะป่วยเป็นโรคนี้ และขับเชื้อออกมากับสิ่งขับถ่ายต่างๆ เช่น น้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ ทำให้โรคแพร่ระบาดต่อไป ระยะฟักตัว เชื้อนี้จะมีชีวิตอยู่ในแปลงหญ้าอยู่ได้ประมาณ 24 ชั่วโมง แต่ถ้าอยู่ในดินที่ชื้นแฉะได้นานถึง 1 เดือนโดยเฉลี่ย 2-5 วัน แต่บางครั้งเชื้อที่มีความรุนแรงมาก ระยะฟักโรคอาจจะเร็ว 1-2 วัน อาการ แบบเฉียบพลันมาก ( Peracute) สัตว์ที่เป็นโรคจะมีอาการซึม ไข้สูง 104-107 อาศาฟาเรนไฮท์ น้ำลายไหล และตายภายในเวลาอันรวดเร็วไม่เกิน 24 ชั่วโมง แบบ เฉียบพลัน (Acute) จะสังเกตเห็นอาการทางระบบหายใจ คือ อ้าปากหายใจ หายใจหอบลึก ยืดคอไปข้างหน้า หายใจมีเสียงดัง ลิ้นบวมจุกปาก หน้า คอ หรือบริเวณหน้าอกจะบวมแข็งร้อน ต่อมาจะมีอาการเสียดท้อง ท้องอืด อุจจาระมีมูกเลือดปน สัตว์จะตาย ภายใน 2-3 วัน

110180963_1476292905892493_8121368385235646963_o.jpg 110245980_1476293029225814_188493184216442858_o.jpg 110334090_1476292972559153_1808803094071538394_o.jpg

111720178_1476293062559144_1815813814499240458_o.jpg 113736801_1476292832559167_8303403667614885010_o.jpg 116604109_1476293119225805_2951291620472982148_o.jpg

S__59850765.jpg